สำหรับ ป.5

หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ มีส่วนประกอบพื้นฐานสำคัญ 5  หน่วย  ดังนี้
           1. หน่วยรับเข้า ( Input ) ทำหน้าที่นำข้อมูลหรือโปรแกรมเข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจำและใช้ในการประมวลผล อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในหน่วยรับเข้ามีดังนี้
               1.1  แผงแป้นอักขระ (keyboard) 
               1.2  เมาส์ (mouse) 
               1.3  ปากกาแสง ( light pen )
               1.4  ลูกกลมควบคุม ( track  ball ) 
               1.5  ก้านควบคุม ( joystick )
               1.6  ครื่องกราดตรวจ ( scanner )
               1.7  จอสัมผัส (touch  sccreen )
           2. หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู (Central  Processing Unit : CPU ) ทำหน้าที่คิดคำนวณหรือประมวลผลข้อมูล โดยอ่านข้อมูลและสิ่งต่าง ๆ จากหน่วยรับเข้า แล้วเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลัก หลังจากนั้นจะอ่านจากหน่วยความจำหลัก เพื่อนำมาตีความหมายและกระทำตามอย่างรวดเร็ว หน่วยประมวลผลกลาง แบ่งออกเป็น 2  หน่วยดังนี้
               2.1  หน่วยควบคุม ( Control  Unit : CU ) ทำหน้าที่ควบคุมลำดับการทำงานภายในหน่วยประมวลผลการ ระหว่างทำการประมวลผล
               2.2  หน่วยคำนวณและตรรกะ ( Arithmetic  Logic  Unit : ALU ) ทำหน้าที่นำข้อมูลซึ่งเป็นสัญญาณไฟฟ้าแบบตัวเลขฐานสองมาประมวลผลทางคณิตศาสตร์และตรรกศาสตร์
           3. หน่วยความจำหลัก ( main  memory unit ) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลและโปรแกรมที่จะให้ซีพียูเรียกไปใช้งานได้ เป็นอุปกรณ์ที่ทำมาจากไอซี  ซึ่งเป็นวงจรที่เก็บข้อมูลในรูปตัวเลขฐานสอง โดยจะเก็บข้อมูลรวมกันเป็นกลุ่ม เช่น 8 บิต  รวมกันเป็น  1  ไบต์  การเก็บข้อมูลในหน่วยความจำหลัก จะเก็บโดยกำหนดตำแหน่งที่อยู่ข้อมูล (address) ซีพียูจะเขียนหรืออ่านข้อมูลในหน่วยความจำหลักโดยอ้างตำแหน่งที่อยู่ ซึ่งการอ้างตำแหน่งที่อยู่นี้เรียกว่า  การเข้าถึงโดยการสุ่ม หน่วยความจำหลักที่นิยมใช้กับคอมพิวเตอร์ มี  2  ประเภท ดังนี้
               3.1  แรม  ( Random  Access  Memory : RAM ) ทำหน้าที่เก็บขอมูลและโปรแกรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ขณะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไฟฟ้าดับขณะใช้งานหรือคอมพิวเตอร์ถูกปิดลงโดยไม่บันทึกข้อมูลจะสูญหายทันที
               3.2  รอม ( Read  Only  Memory  : ROM ) เป็นหน่วยความจำแบบอ่านได้อย่างเดียว ทำหน้าที่อ่านข้อมูล และนำเข้าข้อมูลที่บันทึกไว้ในหน่วยความจำรอมมาใช้งานได้แต่ไม่สามารถแก้ไขข้อมูลได้
           4.  หน่วยความจำรอง ( secondary  memory  unit ) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือโปรแกรมในขณะทำงานไว้ใช้งานต่อจากหน่วยความจำหลัก และสามารถส่งถ่ายข้อมูลไปยังหน่วยความจำหลักประเภทแรมเพื่อให้หน่วยประมวลผลทำงานได้ อุปกรณ์ที่เป็นหน่วยความจำรองมีดังนี้
               4.1  แผ่นบันทึก ( floppy  disk หรือ  diskette )
               4.2  ฮาร์ดิสก์ ( harddisk )
               4.3  เทปแม่เหล็ก ( magnetic  tape )
               4.4  แผ่นซีดี ( Compact  Disk : CD )
               4.5  แผ่นดีวีดี  ( Digital  Versatile  Disk  : DVD )
               4.6  หน่วยความจำแบบแฟลช ( Electrically  Erasable  Programmable  Read  Only  Memory : 
                      EEPROM)
           5. หน่วยส่งออก ( Output  unit )  ทำหน้าที่ประมวลผลแล้วมาแสดงผลโดยผ่านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรือเก็บไว้ในหน่วยความจำรอง อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยส่งออก  มีดังนี้
               5.1  จอภาพ ( Monitor )
               5.2  เครื่องพิมพ์ ( Printer )
               5.3   ลำโพง ( Speaker )